วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่
องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อแผนที่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่ เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้นมักจะแสดงด้วย เส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่าง ๆ

3. ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศหรือการสังเกตดวงอาทิตย์ และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ก็ให้เข้าใจว่าด้านบนของ แผนที่คือทิศเหนือ

4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

5. มาตราส่วน เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงใน ภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้น ๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริง ในอัตราส่วนเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูดและมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ การเขียนมาตราส่วนเขียนได้หลายวิธี เช่น 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1 : 50,000

การคำนวณระยะทางบนแผนที่

6. เส้นโค้งแผนที่เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิง ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย
  • เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านๆ ละไม่เกิน 90 องศา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย
    1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
    2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
    3. เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้
    4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
    5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้ 6.2
เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักรไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตกจะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวัน ระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นเมริเดียนแรกหรือเส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลกมี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกัน เส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก แสดงเส้นศูนย์สูตร เส้นขนาน เส้นเมริเดียนและเส้นเมริเดียนเริ่มแรก
7. พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้น โครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและเส้นขนานและเส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด (เส้นเมริเดียน)

ดังนั้น ละติจูด เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นขนาน ส่วนลองจิจูดก็เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน ซึ่งทั้งละติจูดและลองจิจูดมีค่าของมุมเป็นองศา โดย 1 องศา มีค่าเท่ากับ 60 ลิปดาและ 1 ลิปดา มีค่าเท่ากับ 60 ฟิลิปดา

พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งอยู่จุดตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนาน ตัดกันเป็น “จุด”
  1. ละติจูด (Latitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไป ทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง
  2. ลองจิจูด (Longitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียนไป ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจนถึง 180 องศา
ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้อง โดยใช้ จีพีเอส เครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS : Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทาง ท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตซ์ เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ทราบเครื่องหมาย แผนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น