วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของแผนที่

องค์ประกอบของแผนที่
องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อแผนที่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่ เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้นมักจะแสดงด้วย เส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่าง ๆ

3. ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศหรือการสังเกตดวงอาทิตย์ และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ก็ให้เข้าใจว่าด้านบนของ แผนที่คือทิศเหนือ

4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

5. มาตราส่วน เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงใน ภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้น ๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริง ในอัตราส่วนเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูดและมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ การเขียนมาตราส่วนเขียนได้หลายวิธี เช่น 50,000 หรือ 1/50,000 หรือ 1 : 50,000

การคำนวณระยะทางบนแผนที่

6. เส้นโค้งแผนที่เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิง ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย
  • เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านๆ ละไม่เกิน 90 องศา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย
    1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
    2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
    3. เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้
    4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
    5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้ 6.2
เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักรไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตกจะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวัน ระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นเมริเดียนแรกหรือเส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลกมี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกัน เส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก แสดงเส้นศูนย์สูตร เส้นขนาน เส้นเมริเดียนและเส้นเมริเดียนเริ่มแรก
7. พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้น โครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและเส้นขนานและเส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด (เส้นเมริเดียน)

ดังนั้น ละติจูด เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นขนาน ส่วนลองจิจูดก็เป็นพิกัดของจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน ซึ่งทั้งละติจูดและลองจิจูดมีค่าของมุมเป็นองศา โดย 1 องศา มีค่าเท่ากับ 60 ลิปดาและ 1 ลิปดา มีค่าเท่ากับ 60 ฟิลิปดา

พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งอยู่จุดตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนาน ตัดกันเป็น “จุด”
  1. ละติจูด (Latitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไป ทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง
  2. ลองจิจูด (Longitude) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียนไป ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจนถึง 180 องศา
ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้อง โดยใช้ จีพีเอส เครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS : Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทาง ท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตซ์ เครื่องจะรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ให้ทราบเครื่องหมาย แผนที่

มาตราส่วนแผนที่

มาตราส่วนแผนที่ ( MAP SCALE)
                   มาตรา ส่วนแผนที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับแผนที่ทุกแผ่นเพราะมาตรา ส่วนแผนที่เป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้บนแผนที่ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบว่าแผนที่นี้ย่อจากภูมิประเทศจริงที่ตรงกันด้วย อัตราส่วนเท่าใด
ความหมายของมาตราส่วน
                   มาตรา ส่วนแผนที่ ( Map Scale ) คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงที่ตรงกันในภูมิประเทศ มาตราส่วนแผนที่อาจเขียนได้เป็นสูตรดังนี้ คือ
มาตราส่วนแผนที่      =       ระยะทางในแผนที่
                                       ระยะทางในภูมิประเทศ
     Map Scale         =      Map Distance ( MD )
                                     Ground Distance ( GD )
             Scale         =           MD / GD
ชนิดของมาตราส่วน
                   มาตราส่วนแผนที่ที่ใช้กันทั่วไปมี 3 รูปแบบ คือ
                             มาตราส่วนเศษส่วน ( Representative Fraction ใช้ตัวย่อว่า RF หรือมาตราส่วนตัวเลข Numerical Scale ) คือ การบอกอัตราส่วนเปรียบเทียบระยะทางระหว่างจุดเดียวกันในภูมิประเทศ ในลักษณะของตัวเลขเป็นเศษส่วน เช่น 1:1,000 หรือ 1/1000 โดยเทียบให้ระยะแผนที่เป็นหนึ่งหน่วยเสมอ ในที่นี้หมายความว่า ระยะ 1 หน่วยในแผนที่จะเท่ากับระยะทางในภูมิประเทศ 1,000 หน่วย (ในขณะเดียวกัน)
                             มาตราส่วนคำพูด ( Verbal Scale ) เป็นมาตราส่วนที่บอกให้ทราบโดยตรงว่า 1 หน่วยของความยาวในแผนที่เท่ากับกี่หน่วยของความยาวในภูมิประเทศจริง โดยมากใช้มาตราวัดในระบบเดียวกัน เช่น 1 นิ้ว ต่อ 1 ไมล์ หรือ 1 เซนติเมตร ต่อ 5 กิโลเมตร เป็นต้น
                             มาตราส่วนรูปภาพ หรือมาตราส่วนบรรทัด ( Graphic Scale หรือ Bar Scale ) เป็นมาตราส่วนที่เป็นเส้นตรงซึ่งถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ และมีตัวเลขกำกับไว้ เพื่อบอกให้ทราบว่าระยะแต่ละส่วนในแผนที่นั้นแทนระยะในภูมิประเทศจริงเท่าไร
การแปลงมาตราส่วน
                   มาตราส่วนทั้ง 3 รูปแบบนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งได้
                             การเปลี่ยนมาตราส่วนเศษส่วนเป็นมาตราส่วนคำพูดและมาตราส่วนรูปภาพ
                             การเปลี่ยนมาตราส่วนคำพูดเป็นมาตราส่วนเศษส่วนและมาตราส่วนรูปภาพ
                             การเปลี่ยนมาตราส่วนรูปภาพเป็นมาตราส่วนเศษส่วนและมาตราส่วนคำพูด

ประโยชน์ของแผนที่

ประโยชน์ของแผนที่

          1. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ จำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไข สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย
         2. ด้านการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
         3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ ของประชาชนภายในชาติ เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่ง และมั่นคง การดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบ ทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร และ แผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มาก ขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
        4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้อง อาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
        5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้าน กายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่
        6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยว ได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม

ประเภทของแผนที่

ประเภทของแผนที่

แผนที่สามารถแบ่งออกตามลักษณะการแสดงผล
  • แผนที่กายภาพ เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก
  • แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่เน้นการแสดงเขตการปกครองเป็นหลัก
  • แผนที่เศรษฐกิจ แสดงเขตอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และทรัพยากรธรรมชาติ
  • แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) แผนที่แสดงชั้นหิน
  • แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) แสดงที่ตั้งของสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ เช่นแผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท-ห้าง-ร้าน

ความหมายของแผนที่

ความหมายของแผนที่
                พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น
                แผนที่ หมายถึง   การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ   สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบ ไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
                แผนที่มีความสำคัญ   คือเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงาน  หรือประกอบกิจการต่างๆมนุษย์รู้จัก  ใช้ แผนที่มาตั้งแต่โบราณ ประโยชน์    ของแผนที่ในสมัยนั้น    คือใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย  แหล่งอาหารในทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์  มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ปัจจุบันแผนที่ถูกนำ
ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง รวดเร็ว  ความจำเป็นในการวางผังเมืองให้ เหมาะสม กับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติจึงเพิ่มมากตาม แผนที่จึงมีความสำคัญต่อ การนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประโยชน์ของแผนที่มีมากมาย แต่ได้จัดไว้ ตามการดำเนินกิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้

1. ประโยชน์ทางด้านการเมืองการปกครองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่  จำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง   หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือ ที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้  อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ  เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย
2. ประโยชน์ทางด้านการทหารในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูก  ต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  เศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่  ของประชาชนภายในชาติ   เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงการดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา  แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากรและแผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ  ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
4. ประโยชน์ทางด้านจากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์  ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมเดิมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่านรายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกัน    เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล หรือสมมุติฐานของ เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตเพื่อหามาตรการและวางแผนการป้องกันผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดในอนาคตหรือเพื่อวางแผนพัฒนาสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการวาง ผังเมือง
ให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนนอกจากนี้ในการศึกษาทางด้านโบราณคดีก็ต้องอาศัยแผนที่ เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณอีกด้วย
5. ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่


6. ประโยชน์ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
 
การจำแนกชนิดของแผนที่
                ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
                1.1 แผนที่ลายเส้น ( Line Map ) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใด ๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น
                1.2 แผนที่ภาพถ่าย ( Photo Map ) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้ แล้วนำมาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกันในบริเวณที่ต้องการ แล้วนำมาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียดประจำขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทำได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญ
                1.3 แผนที่แบบผสม ( Annotated Map ) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป
2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน
                ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
                2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
                                2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
                                2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
                                2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
                2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
                                2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
                                2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
                                2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า
3. การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่
                3.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปหรือที่เรียกว่า Base map
                                3.1.1 แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
                                3.1.2 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
                3.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง
4. การจำแนกตามมาตรฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA)  สมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
                4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่มาตราส่วนเล็กบางทีเรียกว่าเป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ (Geographical map) แผนที่ทั่วไป (General map) และแผนที่มาตราส่วนเล็กมากๆ ก็อาจอยู่ในรูปของแผนที่เล่ม (Atlas map)
                4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
                4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมานี้ เรายังสามารถจำแนกแผนที่โดยยึดหลักเกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ ครั้งที่พิมพ์ ฯลฯ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะหลักเกณฑ์ ไม่แน่นอน

การแสดงข้อมูลในแผนที่
                ในการทำแผนที่ทุกชนิดนอกจากจะต้องเขียนแผนที่ให้ถูกต้องตามมาตราส่วนและทิศทางแล้วยังต้องมีวิธีการแสดงข้อมูลให้เหมาะสมด้วย  เพื่อว่าผู้อ่านแผนที่จะได้สามารถเข้าใจแผนที่นั้นโดยถูกต้อง ลักษณะของข้อมูลที่นำมาแสดงในแผนที่โดยทั่วๆ ไปมีอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ
1.       การแสดงข้อมูลเชิงที่ตั้งและอาณาเขต
2.       การแสดงข้อมูลเชิงปริมาณ
3.       การแสดงข้อมูลเชิงความหนาแน่น
4.       การแสดงข้อมูลเชิงค่าเท่า
5.       การแสดงข้อมูลเชิงการเคลื่อนที่

 ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
                ความสามรถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ชาติ พฤติกรรมที่ แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา    ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะ ก้านมะพร้าว  แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัด พวก nomad ที่เร่ร่อนทะเลทรายตามที่ต่างๆ จะใช้โดยขีดบนผืนทราย
                  - แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือแผนที่ของชาวเมโสโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธศักราช
                - สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี  พ.ศ.323ว่าโลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดย อีแรโตสเตนีส โดยใช้หลักทาคณิตศาสตร์ โดยสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
                 - ต่อมาปี พ.ศ. 370ปี ปโตเลมี นำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมาปรับปรุงกำหนดค่ามุม
ของเส้นขนานและเว้นเมอริเดียน